แหล่งน้ำจืด และสถานการณ์การขาดแคลนน้ำจืดของโลก
น้ำจืด (Fresh water) หรือ แหล่งน้ำจืด เป็นของเหลวที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือน้ำแช่แข็งที่มีความเข้มข้นต่ำของเกลือที่ละลายในน้ำและของแข็งที่ละลายทั้งหมดอื่นๆ แม้ว่าคำนี้จะไม่รวมน้ำทะเลและน้ำกร่อย แต่รวมถึงน้ำที่อุดมด้วยแร่ธาตุที่ไม่เค็ม เช่น น้ำพุ chalybeate น้ำจืดอาจรวมเอาน้ำแข็งและน้ำละลายในแผ่นน้ำแข็ง แผ่นน้ำแข็ง ธารน้ำแข็ง ทุ่งหิมะและภูเขาน้ำแข็ง การตกตะกอนตามธรรมชาติ เช่น ฝน หิมะตก ลูกเห็บ/ลูกเห็บและลูกเกด และการไหลบ่าของพื้นผิวที่ก่อให้เกิด แหล่งน้ำ ภายในประเทศ เช่น พื้นที่ชุ่มน้ำ บ่อน้ำ ทะเลสาบ, แม่น้ำ, ลำธาร, ตลอดจนน้ำบาดาลที่มีอยู่ในชั้นหินอุ้มน้ำ, แม่ น้ำใต้ดิน และ ทะเลสาบ.
น้ำจืดไม่ใช่น้ำดื่มเสมอไป กล่าวคือ น้ำปลอดภัยที่มนุษย์จะดื่มได้ น้ำจืดส่วนใหญ่ของโลก (บนผิวดินและน้ำบาดาล) มีระดับที่ไม่เหมาะสมอย่างมากสำหรับการบริโภคของมนุษย์โดยไม่มีการบำบัด น้ำจืดสามารถกลายเป็นมลพิษได้ง่ายจากกิจกรรมของมนุษย์หรือเนื่องจากกระบวนการที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น การกัดเซาะ
มารู้จัก แหล่ง น้ำจืด ของโลก
แหล่ง น้ำจืด ที่สำคัญ

น้ำแข็ง
น้ำแข็ง ได้แก่ น้ำแข็งหรือภูเขาน้ำแข็ง ที่ปกคลุมบริเวณขั่วโลก ธารน้ำแข็งและหิมะที่ปกคลุมบริเวณยอดภูเขาสูงต่างๆ ซึ่งมีปริมาณ 68.7 เปอร์เซ็นต์ของน้ำจืดบนโลก แม่น้ำ ที่สำคัญหลายสายของโลก เช่น แม่น้ำโขง แม่น้ำสาละวิน ฯลฯ ก็มีต้นกำเนิดมาจากการละลายของหิมะและธารน้ำแข็งเหล่านี้

น้ำใต้ผิวดิน หรือ น้ำใต้ดิน
น้ำใต้ผิวดิน หรือ น้ำใต้ดิน เป็นน้ำจืดที่ขังอยู่ในช่องว่างของดินหรือหิน หรือน้ำที่ไหลอยู่ภายในชั้นหินอุ้มน้ำ หรือชั้นน้ำซึ่งอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำใต้ดิน น้ำใต้ดินเกิดจากการไหลซึมลงชั้นใต้ดินของน้ำผิวดิน กรณีการปล่อยออกตามธรรมชาติของน้ำใต้ดินที่เกินขนาดเก็บกักคือน้ำพุธรรมชาติ และการไหลซึมออกสู่ทะเล น้ำใต้ดินมีปริมาณ 30.1 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณน้ำจืดทั้งหมดบนโลก มนุษย์ได้ใช้ประโยชน์จาก น้ำใต้ดินในการสูบขึ้นมาใช้ประโยชน์หรือที่เรียกว่า “น้ำบาดาล” อย่างไรก็ตาม แหล่งน้ำ ใต้ดินอาจกลายเป็นน้ำเค็มได้ หากเกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือเกิดจากการชลประทานโดยเฉพาะพื้นที่แถบชายฝั่งทะเลหรือมีชั้นเกลือใต้ดินในปริมาณสูง

น้ำบนผิวดิน
น้ำบนผิวดิน ได้แก่ น้ำในแม่น้ำ ลำคลอง ลำธาร ทะเลสาบ แหล่งน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้น รวมทั้งพื้นที่ชุ่มน้ำที่เป็น น้ำจืด น้ำผิวดินจะได้รับจากน้ำฟ้าที่ตกลงมาในรูปของฝนและหิมะ และจะหายไปตามธรรมชาติด้วยการระเหย การซึมลงไปชั้นใต้ดิน และการไหลออกสู่ทะเลมหาสมุทร เป็น แหล่งน้ำ จืดหลักที่มนุษย์ใช้ประโยชน์ มีปริมาณเพียง 0.3 เปอร์เซ็นต์ ของปริมาณน้ำจืดบนโลก
สถานการณ์ น้ำจืด ของโลกที่เราควรให้ความสำคัญ
การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรโลกในปัจจุบัน รวมทั้งการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของโลกเป็นแรงขับเคลื่อนต่อการเพิ่มปริมาณความต้องการใช้น้ำในทุกภาคส่วน ส่งผลให้มีความเสี่ยงต่อวิกฤตน้ำในโลกที่มีความเป็นไปได้สูงในอนาคต
นอกจากนี้สภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในปัจจุบัน อุณหภูมิเฉลี่ยของพื้นผิวโลกเพิ่มสูงขึ้น และระดับน้ำทะเลเฉลี่ยทั่วโลกเพิ่มขึ้นจากการละลายของธารน้ำแข็งบนแผ่นดิน และปริมาตรน้ำในมหาสมุทรขยายตัว สภาวะโลกร้อนยังส่งผลกระทบต่อวัฎจักรของน้ำบนโลก เกิดความผันแปรของพายุหมุนเขตร้อน เกิดภัยพิบัติต่าง ๆ ภาวะฝนแล้ง ฝนทิ้งช่วงยาวนาน หรือภาวะน้ำท่วมหนัก ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมซึ่งเป็นรากฐานที่สำคัญของความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจของโลก จากปัญหาขาดแคลนน้ำของโลกทำให้องค์การสหประชาชาติได้ให้ความสำคัญและรณรงค์ให้นานาประเทศช่วยกันอนุรักษ์น้ำ โดยกำหนดให้วันที่ 22 มีนาคมของทุกปีเป็นวันอนุรักษ์น้ำของโลก (World Day for Water)

ตั้งแต่ปีมีรายงานสถานการณ์น้ำของโลกชี้ให้เห็นว่าประชากรโลก 1 ใน 5 คน ไม่สามารถเข้าถึงน้ำสะอาด ขาดแคลนน้ำดื่ม และประชากรครึ่งหนึ่งของโลกขาดแคลนน้ำสะอาดตามหลักสุขาภิบาล ประชากรมากกว่า 5 ล้านคนตายด้วยโรคที่เกิดจากน้ำไม่สะอาดในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา สถาบันจัดการน้ำระหว่างประเทศ (IWMI) ประมาณการว่าในราวปี ค.ศ. 2025 ประชากร 4,000 ล้านคน ใน 48 ประเทศ (2 ใน 3 ของประชากรโลก) จะเผชิญกับปัญหาความขาดแคลนน้ำ ในขณะที่ธนาคารโลกประมาณการว่า 30 ปีข้างหน้า ประชากรครึ่งหนึ่งของโลก จะประสบกับภาวะขาดแคลนน้ำหากยังคงมีการใช้น้ำที่ฟุ่มเฟือยอย่างเช่นในปัจจุบัน พ.ศ. 2535 เป็นต้นมา.
ดังนั้นเรามีความจำเป็นที่จะต้องช่วยกันดูแล รักษา ทรัพยากร น้ำจืด ที่มีอยู่อย่างจำกัดให้มีการบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ พอเพียง ให้สามารถดำรงอยู่ได้อย่างสมดุลของระบบนิเวศ และสมบูรณ์ต่อการนำมาใช้ประโยชน์ของมนุษย์ในอนาคต.
อีกทั้งเรายังต้องคำนึงถึง สิ่งแวดล้อมอีกด้วยในการบริหารจัดการน้ำกิน น้ำใช้ น้ำทิ้ง ให้สอดคล้องกับนโยบายของ (IWMI) และในการเลือกใช้ระบบกรองน้ำ บำบัดน้ำต่างๆ ให้ได้มาตรฐานตามข้อบังคับของหน่วยงานของรัฐด้วย
เพื่อน้ำที่ใสสะอาด ปราศจากสารพิษ ทั้งการอุปโภค และ บริโภค ลองใช้ สารกรองแก้ว AFM® สิค่ะ ซึ่งสารกรองแก้ว ผลิตมาจากแก้วรีไซร์เคิล สีเขียวและสีน้ำตาล เคลือบประจุบวกลบเพื่อการดักจับสารพิษและโลหะหนักต่างๆได้ดี สามารถนำไปใช้กรองน้ำในบ้านเรือน และ การกรองเพื่อบำบัดน้ำเสียในภาคอุตสหกรรมอีกด้วย
ที่มาของข้อมูล Naksit Sangjun/WWF-Thailand