ความแตกต่างของเครื่องกรองน้ำใช้และเครื่องกรองน้ำดื่ม
ประเภทเครื่องกรองน้ำ ที่หลายคนกำลังหาข้อมูลเกี่ยวกับ “เครื่องกรองน้ำ” ที่จะเอามาใช้งานในบ้าน และต้องพบเจอกับปัญหาว่า ทำไมมีเครื่องกรองน้ำหลากหลายแบบ แต่ละแบบแตกต่างกันอย่างไร และเราควรเลือกใช้เครื่องกรองน้ำแบบไหน ดังนั้น วันนี้ทาง Glass-Filter.com จะมาแนะนำ และอธิบายเกี่ยวกับเครื่องกรองน้ำและการเลือกใช้งานเพื่อให้เหมาะสมต่อการใช้งานของแต่ละคน ลักษณะและการใช้งานโดยทั่วไปของเครื่องกรองน้ำในบ้านจะสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 อย่างคือ
- เครื่องกรอง น้ำใช้ โดยการติดตั้งเครื่องกรองน้ำใช้นี้ มักจะติดตั้งอยู่ระหว่าง มิเตอร์น้ำประปา (น้ำเข้าบ้าน) > เครื่องกรองน้ำใช้ > แท้งค์เก็บน้ำสะอาด > ปั้มน้ำ > ตามลำดับ การใช้งานภายในบ้าน เป็นตัวช่วยในการกรองน้ำขั้นแรกให้มั่นใจได้ว่า น้ำที่จะถูกใช้งานภายในบ้าน เช่น ล้างจาน อาบน้ำ ถูบ้าน ซักผ้า จะเป็นน้ำที่สะอาดจริงๆ ถึงแม้น้ำนั้นจะเป็นน้ำประปาก็ตาม
- เครื่องกรอง น้ำดื่ม โดยการติดตั้งเครื่องกรองน้ำดื่มนี้ จะเป็นการติดตั้งถัดออกมาจากการกรองน้ำใช้ขั้นแรก คือ แท้งค์เก็บน้ำใช้ > ปั้มน้ำ > เครื่องกรองน้ำดื่ม> แท้งเก็บน้ำดื่ม > ตามลำดับ
จากข้างต้นจะทำให้เรามองภาพของเครื่องกรองน้ำออกง่ายขึ้น ว่าเราต้องการใช้เครื่องกรองน้ำเพื่องาน กรองน้ำใช้ หรือกรองน้ำดื่ม หากซื้อน้ำดื่มจากโรงงานผลิตน้ำดื่มจากบริเวณใกล้เคียง หรือซื้อจากร้านค้าอยู่แล้ว ก็ติดตั้งเพียงแค่ “เครื่องกรองน้ำใช้” เท่านั้นก็พอ ดังนั้นในหัวข้อนี้เราจะมาพูดถึง เครื่องกรองน้ำใช้กันก่อน ว่ามีหน้าตาเป็นอย่างไร มีอุปกรณ์อะไรที่เกี่ยวข้องบ้าง รวมถึงการทำงานของเครื่องกรองน้ำลักษณะนี้ทำงานอย่างไร
เครื่องกรองน้ำใช้และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง
ประเภทเครื่องกรองน้ำ
1.) ถังกรอง
1.1) สแตนเลส อายุการใช้งานยาวนานมากหลายสิบปี ทนทานสูง ไม่เป็นสนิม แต่มีน้ำหนักมาก
1.2) ไฟเบอร์ ปัจจุบันนิยมใช้งานถังไฟเบอร์ เพราะมีน้ำหนักเบา ราคาถูก อายุการใช้งานยาวนาน คุ้มค่าต่อการลงทุน
2.) ขนาดของถังกรอง
ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำที่เราต้องการใช้ ว่าปริมาณมากน้อยขนาดไหน หากเป็นบ้านพักที่อยู่อาศัยทั่วไป ไม่จำเป็นต้องขนาดใหญ่มากก็ได้
3.) วาล์ว (ส่วนหัวของถังกรอง)
3.1) แบบมือหมุนเอง Manual ใช้สำหรับปรับโหมดการทำงานของการกรอง ว่าจะเป็นการ กรอง, การล้างสารกรอง, การปล่อยน้ำทิ้ง เป็นต้น
3.2) แบบ Auto Control เป็นตัวที่ใช้ในการปรับโหมดการทำงานของถังกรองเช่นเดียวกับ Manual แต่จะพิเศษกว่าตรงที่สามารถตั้งเวลาโปรแกรม ได้ว่าต้องการเปลี่ยน Mode ไหนเมื่อไหร่ ระยะเวลาเท่าไหร่ เหมาะสำหรับติดตั้งในพื้นที่ ๆ ไม่มีคนอยู่ดูแลตลอดเวลา หรือมีระยะเวลาการ Service ที่แน่นอน
4.) สแตนเนอร์ บน / ล่าง
เป็นอุปกรณ์ที่ส่วนใหญ่ทำมาจากพลาสติก แบ่งเป็น 2 ส่วน
4.1) ส่วนแรกคือ สแตนเนอร์ “บน” เป็นตัวกันไม่ให้สารกรองไหลย้อนออกจากถังกรองเมื่อทำการล้างย้อนกลับ เพื่อล้างสารกรอง
4.2) ส่วนที่ 2 คือ สแตนเนอร์ “ล่าง” ทำหน้าที่เป็นตะแกรงด้านล่างเพื่อไม่ให้สารกรองหลุดออกไปกับน้ำขณะทำการกรองปกติ
5.) สารกรองน้ำมีหลากหลายชนิดให้เลือกใช้ ขึ้นอยู่กับเป้าหมาย และปัญหาของน้ำที่เราต้องการจะกำจัดออกไป โดยปกติมาตรฐานมักจะใช้งานเป็น
5.1) ทรายกรองน้ำ
5.2) สารกรองน้ำที่ทำจากแก้วหรือ สารกรองแก้ว
5.3) เรซิ่น
5.4) คาร์บอน
5.5) แก้ว
5.6) แอนทราไซต์
จะเห็นได้ว่าจริง ๆ แล้ว ระบบกรองน้ำในบ้านนั้น ไม่ได้มีอะไรที่ซับซ้อน หรือว่ายากต่อการใช้งานแต่อย่างใด เพียงแต่ว่าต้อง เข้าใจถึงปัญหาที่มีว่าในปัจจุบันเป็นอย่างไร ต้องใช้สารกรองแบบใดในการแก้ไขปัญหานั้น ใช้ในปริมาณสารกรอง/การไหลของน้ำที่เท่าไหร่ ก็จะทำให้เราได้ระบบกรองน้ำที่เหมาะสมกับปัญหาของเรา