ข้อแนะนำ การใช้น้ำประปา ในภาวะน้ำท่วม
การใช้น้ำประปา ในภาวะน้ำท่วม ควรทำอย่างไรน้ำไม่ใส น้ำขุ่น มีสีเหลืองและกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ยังคงเป็นปัญหาที่ถูกร้องเรียนกันในหลายพื้นที่ เหตุเพราะความเปลี่ยนแปลงที่กล่าวมาขั้นต้นทำให้ประชาชนผู้อุปโภคบริโภคน้ำไม่มั่นใจในคุณภาพของน้ำ ทางบริษัท สวิส ไทย วอเตอร์ โซลูชั่น จึงเล็งเห็นความสำคัญของน้ำใส จึงได้นำเอาคำแนะนำของทางการประปานครหลวง (กปน.) มาแนะนำการใช้น้ำประปาในภาวะน้ำท่วม 7 ข้อ ดังนี้
1. การใช้น้ำประปาในที่พักอาศัย
กรณีที่พักอาศัยของท่าน มีถังพักน้ำใต้ดินและถูกน้ำท่วม ควรหยุดพักชั่วคราว แล้วเปลี่ยนไปใช้น้ำประปาจากท่อภายในที่ต่อตรงจากมาตรวัดน้ำแทน เนื่องจากน้ำที่ท่วมขังอาจไหลลงไปปะปน หรือซึมเข้าไปในถังพักน้ำ ทำให้น้ำมีสภาไม่เหมาะสมต่อการใช้ หากน้ำยังท่วมไม่ถึงถังพักน้ำของท่าน ควรเตรียมป้องกันถังพักน้ำไว้ล่วงหน้า
2. การใช้น้ำประปาอย่างระมัดระวัง
ควรระมัดระวังไม่ใช้เครื่องสูบน้ำ จากระบบท่อที่จมอยู่ใต้น้ำเพราะหากมีท่อแตกรั่วซึ่งมองไม่เห็น เครื่องสูบน้ำ (ปั้มน้ำ) จะดูดสิ่งสกปรกเข้าสู่ระบบท่อได้
3. การใช้น้ำประปากรณีก๊อกน้ำจมอยู่ในน้ำ
กรณีก๊อกน้ำจมอยู่ในน้ำ สามารถใช้สายยางที่สะอาดต่อจากก๊อกแล้วยกแขวนให้สูงขึ้น จะสามารถใช้น้ำได้ตามปกติ
4. การใช้น้ำประปา กปน.
น้ำประปาที่ กปน. ผลิตและสูบจ่ายเข้าสู่ระบบท่อประปา ได้ผ่านการตรวจสอบจากนักวิทยาศาสตร์ของ กปน. และสถาบันที่เชื่อถือได้ โดยเฉพาะในช่วงวิกฤติน้ำท่วม หน่วยงานด้านสาธารณสุข อาทิ กรมอนามัย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ทำการตรวจสอบคุณภาพน้ำดิบและน้ำประปา และยืนยันว่าน้ำประปาอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานน้ำดื่มขององค์การอนามัยโลก ไม่เป็นอันตรายเพราะไม่มีสารพิษและเชื้อโรค
5. กลิ่นคลอรีนในน้ำประปาในบ้าน
ขณะนี้ กปน. ได้เพิ่มปริมาณคลอรีนเพื่อฆ่าเชื้อโรค จึงอาจมีกลิ่นคลอรีนในน้ำประปาที่บ้าน ท่านสามารถลดกลิ่นคลอรีนได้โดยรองน้ำประปาใส่ภาชนะเปิดฝาและตั้งทิ้งไว้ ประมาณ 30 นาที กลิ่นคลอรีนจะระเหยไป หรืออาจนำไปต้มก่อนดื่ม
6. ป้องกันท่อรั่วในบ้าน
กรณีจำเป็นต้องอพยพออกจากที่พักอาศัย โปรดปิดประตูน้ำ (วาล์ว) ที่มาตรวัดน้ำเพื่อป้องกันกรณีท่อรั่วภายในบ้านทำให้สูญเสียน้ำประปาโดยไม่จำเป็น